วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บทที่11 การยศาสตร์ Ergonomics

ความหมาย : กฏของงานซึ่งเป็นศาสตร์หรือวิชาการที่เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานหรือเป็นการปรับปรุงสภาพการทำงาน

มาตรฐานและการออกแบบสถานีงานที่ใช้คอมพิวเตอร์

  ท่าทางที่สามารถก่อให้เกิดอันตราย ได้แก่ การโน้มตัวไปข้างหน้า การยืดแขนมากเกินไป การนั่งเก้าอี้ต่ำหรือสูงเกินไป

   การวัดสัดส่วนร่างกายสำหรับการออกแบบสถานีทำงานการออกแบบสถานีงานต้องพิจารณาจากสัดส่วนร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน

1.ความสูงจากระดับสะโพกขณะนั่ง

2.ความสูงจากระดับเท้าขณะนั่ง

3.ความยาวขากก้นขณะนั่ง

4.ความกว้างของสะโพกในขณะที่นั่ง

การจัดสุขภาวะให้เหมาะแก่การทำงาน

1.เมื่ออยู่ในท่าทำงานสามารถตั้งศีรษะได้ตรง

2.สายตามองไปด้านหน้าได้สะดวก จอภาพอยู่ต่ำเล็กน้อยกว่าระดับสายตา

3.กล้ามเนื้อไหล่ผ่อนคลาย

4.มือทั้งสองข้างอยู่ในแนวเดียวกันกับแขน

5.หลังตั้งตรงพอดีกับที่พักหลัง

6.เอกสารอยู่ในตำแหน่งที่ง่ายต่อการมอง

7.เท้าทั้งสองข้างสามารถวางได้พอดี

การจัดแสงสว่างในการทำงาน

1.ความสว่างเหมาะสมกับลักษณะงาน

2.การเลือกชนิดของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟ

3.ค่าการสะท้อนแสงเหมาะกับการทำงาน เช่น เพดาน (70-80%)

4.ปรับตำแหน่งของจอภาพให้อยู่ในแนวขนาน

5.อัตราส่วนระหว่างระยะห่างของโคมไฟ

6.การใช้อุปกรณ์เสริม เช่น แผ่นกรองแสง

ปัญหาสุขภาพ : ความผิดปกติของผิวตา เกิดจากแสงสว่างที่มากหรือน้อยเกินไป , การปรับโฟกัส เกิดได้จากขนาดของตัวหนังสือ , การจัดวางคอมพิวเตอร์ เช่น ระยะห่างตากับจอภาพ

แนวทางการแก้ไข :

1.สถานที่ทำงาน (ควรใช้จอแบบเพื่อลดการสะท้อนแสง , ปรับความสว่างและตวามแตกต่างของสี , เลือกใช้ตัวอักษรเข้มบนพื้นจอสีอ่อน , จัดจอภาพให้มีระยะห่างจากตาประมาณ60 ซ.ม , โต๊ะควรสูงพอสำหรับมีที่ว่างให้เข่าไม่ติดโต๊ะ , เก้าอี้ควรมีที่หนุนหลัง)

2.แสงสว่างไม่ควรอยู่ด้านหน้าและด้านหลังควรอยู่ด้านข้างจอภาพ

3.การพักสายตา ควรพักสายตาเป็นระยะๆ ทุก1ชม.ควรหยุดทำงานและลุกขึ้นเดิน

4.การปรับพฤติกรรมการใช้สายตา(การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา , ใช้การประคบด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น , ควรบริหารกล้ามเนื้อตาอย่างต่อเนื่อง)

5.การใช้น้ำตาเทียม เพื่อป้องกันเยื่อบุตาแห้ง


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อเรื้อรัง

1.ท่านั่งทำงานไม่เหมาะสม

2.กล้ามเนื้อมีการทำงานมากเกินไป

3.ขาดการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง

โรคปวดหลังส่วนกลาง แนวทางแก้ไข : จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม , ยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลัง

เคล็ดลับป้องกันโรคจากคอมพิวเตอร์

การปรับแต่งสภาพแวดล้อม

 1.คีย์บอร์ด ตรวจสอบว่าคีย์บอร์ดของคุณว่าอยู่ในระดับที่แขนเหมาะสมหรือเปล่า  ต้องมั่นใจว่าข้อศอกอยู่ในมุมที่เปิด90องศา  ตำแหน่งที่นั่งต้องอยู่ตรงกลางคีย์บอร์ด

2.จอคอมพิวเตอร์ หมั่นทำความสะอาดจอภาพ  ควรปรับแสงสว่างจอภาพให้พอดี  ปรับหน้าจอให้แหงนขึ้นเรียบร้อย พยายามอย่าจ้องหน้าจอนานๆ

3.เก้าอี้ เบาะเก้าอี้ไม่ควรแหงนขึ้น เก้าอี้ควรปรับระดับความสูงไม่ควรนั่งงอตัว

4.แสง โคมไฟบนโต๊ะทำงานควรใช้แสงสีขาว  หลอดไฟควรมีแสงสว่างในโทนเดียวกัน  จะดีมากถ้าตำแหน่งของแสงสามารถปรับขึ้นลงได้

บทที่10 ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์

ความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์

   เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและตรวจสอบการเข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต

องค์ประกอบของความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ  : มี3ประการ

1.ความลับ(Confidentiality) คือ การรับรองว่าจะมีการเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ และผู้มีสิทธิ์เท่านั้นจึงจะเข้าถึงข้อมูลนั้นได้

2.ความถูกต้องสมบูรณ์(Integrity) คือ มาตรการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศต้องมีกลไกการตรวจสอบสิทธิ์

3.ความพร้อมใช้งาน(Availability) คือ การทำให้สารสนเทศสามารถตอบสนองระบบได้เมื่อต้องการ
ภัยคุกคาม คือ สาเหตุของสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบคอมพิวเตอร์และเป็นอุปสรรคในการให้บริการ

ช่องโหว่ คือ จุดอ่อนของทรัพย์สินที่ถูกภัยคุกคามใช้เป็นช่องทางในการโจมตี เช่น ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ

ภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

- การหลอกว่ามาดี แต่จริงๆมาร้าย เช่น หลอกให้โอนเงินช่วยเหลือ
- ส่ง URL Ling เพื่อให้ผู้รับคลิกเข้าไประหว่างนั้นก็มีการแอบดักเอาข้อมูลส่วนตัวไป
- ถูกสวมรอยกันง่ายๆเพียงเล่นเฟซบุค เช่น เราได้ล็อคอินค้างไว้
- หลอกให้คลิกแต่แอบซ่อนมีดไว้รอเชือด
- บอกเพื่อนว่าเราอยู่ไหน เสมือนหนึ่งว่าเราได้บอกโจร
- ระวังข้อมูลส่วนตัวหลุดรั่วขณะเล่นFacebookเพลินๆ

โปรแกรมประสงค์ร้าย

- มัลแวร์ คือ ซอฟต์แวร์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อแอบเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้ไม่อนุญาต
- ไวรัส เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถสำเนาของตัวเองเพื่อแพร่ออกไป
- หนอน มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดกระจายตัวได้เร็ว
- ม้าโทรจัน คือ โปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง
- สปายแวร์ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกการกระทำของผู้ใช้บนคอมพิวเตอร์ และแอบดักข้อมูล

โปรแกรมป้องกันและกำจัดการคุกคาม

- แอนติไวรัส จะค้นหาและทำลายไวรัสในคอมพิวเตอร์ของเรา
- แอนติสปายแวร์ เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากสปายแวร์และแฮ็คเกอร์
เทคโนโลยีด้านความปลอดภัย

ไฟร์วอลล์ : คือ ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่าย เป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสารระหว่างเขตที่เชื่อถือต่างกัน

ความต้องการของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล: การรักษาความลับ การระบุตัวบุคคลได้ การรักษาความถูกต้องสมบูรณ์ การป้องกันการปฏิเสธความรับผิดชอบ

1.ระบบเข้ารหัสแบบกุญแจสมมาตร คือ การเข้ารหัสข้อมูลด้วยกุญแจเดี่ยว
ข้อดี: การเข้ารหัสและถอดรหัสใช้เวลาน้อย

2.ระบบเข้ารหัสแบบกุญแจอสมมาตร ใช้หลักกุญแจคู่เข้ารหัสและถอดรหัส โดยกุญแจคู่จะประกอบด้วยกุญแจส่วนตัวและกุญแจสาธารณะ

ข้อดี: การจัดการกับกุญแจทำได้ง่ายเพราะไม่ต้องจำเลยว่าได้ใช้กุญแจคู่ไหนกับใคร
คำแนะนำในการเลือกรหัสผ่านที่ดี: ใช้คำมากกว่า1คำเลือกใช้คำ2คำรวมกันเป็นรหัสผ่าน  ใช้สัญลักษณ์แทนตัวอักษรเช่น 1Ronal309 เป็นต้น  เลือกรหัสผ่านให้ผูกกับเหตุการณ์  ให้ใช้รหัสผ่านที่ยาวที่สุดเท่าที่ทำได้

สิ่งที่ไม่ควรทำในรหัสผ่าน: ไม่ใช้ข้อมูลส่วนตัว  ไม่ใช้รหัสผ่านที่ผูกกับเดือนปฏิทินเช่น Mayday เป็นต้น


บทที่9 กูเกิ้ลแอพพลิเคชั่น Google Application

Google Apps

          Google Apps คือ แอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Google เพื่อให้บริการทางด้านการบริหารจัดการภายในองค์กร
      กูเกิ้ลแอพเป็นอีกระบบการที่ทางกูเกิ้ลได้จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ผู้ใช้สามารถที่จะทำงานหรือปรับปรุงข้อมูลต่างๆได้ เช่น การจัดการด้านเอกสาร จัดตารางเวลา การจัดสร้างเว็บเป็นต้น

1.กูเกิ้ลเมล(http://www.gmail.com) เป็นบริการหลักที่จะต้องมีหากเราต้องการใช้บริการอย่างอื่นของกูเกิ้ล เพราะข้อกำหนดหลักคือ จะใช้อีเมลของกูเกิ้ลในการเข้าใช้บริการอื่นๆทั้งหมด ดังนั้นควรจะต้องทำการสมัครใช้บริการของกูเกิ้ลก่อนเป็นอันดับแรก

2.แผนที่ (Google map) คือ การบอกเส้นทางให้แก่ผู้ใช้ เบื้องต้นว่าจะสามารถเดินทางไปถึงปลายทางได้อย่างไร การแสดงผลของกูเกิ้ลมี 2 แบบคือ แบบแผนที่และมุมมองแบบดาวเทียม

3.ปฏิทิน(Calendar) เป็นบริการจัดตารางนัดหมายประจำวัน ผู้ใช้สามารถที่จะกำหนดวัน เวลานัดหมายผ่านบริการนี้ นอกจากนี้ยังสามารถที่จะแลกเปลี่ยน(Share)ตารางนัดหมายกับบุคคลอื่นได้

4.กูเกิ้ลดอคคิวเมนท์(Google Document) เป็นโปรแกรมจัดการด้านเอกสาร ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์เอกสาร นำเสนอ ตารางคำนวณ เป็นต้น

5.กูเกิ้ลพลัส(google+) เป็นบริการใหม่มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างขึ้นมาให้เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อแข่งขันกับเฟซบุค

6.บริการอื่นๆของกูเกิ้ล
    -ไซต์ เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้มีหน้าเว็บเป็นของตัวเอง
    -กูเกิ้ลกรุ๊ป บริการให้มีการสร้างกลุ่มความสนใจหรือกลุ่มเพื่อนร่วมงาน
    -ยูทูบ เป็นบริการให้ผู้ใช้สามารถอัพโหลดไฟล์ประเภทวีดีโอขึ้นแสดงบนอินเทอร์เน็ต
    -สกอลาร์ เป็นเว็บไซต์ให้บริการค้นหาบทความงานวิจัย

บทที่8 เครือข่ายสังคมออนไลน์ Social Network

ความเป็นมาของเครือข่ายสังคมออนไลน์

    นิยมเรียกว่า Social Network เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีและเว็บรูปแบบใหม่นั่นคือ Web 2.0 เน้นให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ลงบนเว็บไซต์ร่วมกัน และสามารถโต้ตอบกับข้อมูลที่มีอยู่บนเว็บไซต์ได้ เมื่อมีการพัฒนาต่อเพื่อก้าวไปสู่ยุคที่3 Web 3.0 ยิ่งทำให้กระแสเติบโตขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง เครือข่ายสังคมออนไลน์ มีจุดเริ่มต้นจากเว็บไซต์Classmates.com ในปี1995 และเว็บไซต์ SixDegrees.com ในปี1997 ที่ได้รับการนิยมในปัจจุบัน เช่น Facebook Twitter YouTube เป็นต้น

ความหมาย : ระบบเครือข่ายบนโลกออนไลน์หรือการติดต่อสื่อสารถึงกันผ่านอินเทอร์เน็ต สรุปหมายถึง การสื่อสาร สนทนา แลกเปลี่ยนข้อมูลอาจจะเป็นข้อความ รูปภาพ เสียง วีดีโอ หรือเล่นเกมส์ ผ่านระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันบนโลกอินเทอร์เน็ต

ประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ มี 6 ประเภท

1.ประเภทแหล่งข้อมูลหรือความรู้ เช่น Wikipedia

2.ประเภทเกมส์ออนไลน์ เช่น Audition

3.ประเภทสร้างเครือข่ายสังคม เช่น Facebook

4.ประเภทฝากภาพ เช่น Flickr

5.ประเภทสื่อ เช่น Youtube

6.ประเภทซื้อขาย เช่น Amazon

เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์

1.www.hi5.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้บริการมาฝากProfileของตนเองคล้ายกับ Blog Hi5ยังมีส่วนจัดการกับพื้นหลังแบ็กกราวด์ที่สามารถตกแต่งเลือกลวดลาย รูปและดาวน์โหลดได้ตามเว็บไซต์ต่างๆ

2.www.Facebook.com มาร์ก เอลเลียตซักเคอร์เบิร์กผู้ก่อตั้งเว็บชุมชนออนไลน์เฟสบุ๊ค เปิดตัวเมื่อวันที่4กุมภาพันธ์2004 นอกจากนี้ยังได้รับการจัดอันดับเป็นเว็บที่ผู้ใช้ Upload รูปขึ้นไปเก็บไว้มากเป็นอันดับหนึ่ง

3.www.myspace.com ให้บริการทำเว็บส่วนตัว บล็อก การเก็บ ภาพ วีดีโอ ดนตรีและเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มคนอื่นก่อตั้งเมื่อเดือนส.ค.2546

4.http//twitter.com เป็นบริการจำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน140ตัวอักษร

5.http//plus.google.com ให้บริการโดยกูเกิ้ลใช้งานครั้งแรก 28 มิ.ย.2554 ปัจจุบันได้มีการรองรับการทำงานผ่านเว็บเบราซ์เซอร์แอพพลิเคชั่นของแอนดรอยด์



ผลกระทบทางสังคมในปัจจุบัน

ผลกระทบเชิงบวก

1.เป็นสื่อในการนำเสนอผลงานของตัวเอง

2.เป็นสื่อที่ใช้ในการแบ่งปันข้อมูล รูปภาพ ความรู้ให้กับผู้อื่น สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้

3.เป็นเครื่องมือช่วยในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถสื่อสารได้หลายรูปแบบ

4.เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์

5.ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ด้วยช่องที่สะดวกและรวดเร็ว

ผลกระทบเชิงลบ

1.เป็นช่องทางที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้างได้ง่าย

2. หากใช้หมกมุ่นกับการเข้าร่วมเครือขายสังคมออนไลน์มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

3.เป็นช่องทางที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์กระแสสังคมในเรื่องเชิงลบ และอาจทำให้เกิดกรณีพิพาทบานปลาย

4.ภัยคุกคามจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ


บทที่7 เว็บแอพพลิเคชั่น

1.การสืบค้น ค้นคว้าหาข้อมูล(Serach engine) 

     ความหมายของ Serach engine หรือโปรแกรมค้นหา คือ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

Serach engine มีการเก็บรายชื่อเว็บไซต์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆของเว็บไซต์และนำมาจัดเก็บไว้ใน Server เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวก เช่นYahoo.com  Google.com เป็นต้น

ประเภท Serach engine : มี3ประเภท

1.Keyword Index การค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้วให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อนหลัง การค้นหาข้อมูลโดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย

2.Subject Directory หรือ WebDirectory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้สามารถค้นหาข่าวสารข้อมูลด้วยหมวดหมู่ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป

3.Metasearch engine ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษาHTMLและยังสามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ เพื่อเรียกดูข้อมูลที่ Search Engine อื่นๆ ค้นพบ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษรและมักจะไม่ค้นหาคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด)  

หลักการในการค้นหาข้อมูลของ Serach engine: การค้นหาจากชื่อของตำแหน่งURLในเว็บไซต์ต่างๆ,การค้นหาจากคำที่มีอยู่ในTitle,การค้นหาจากคำสำคัญหรือKeyword,การหาค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะSite

เว็บไซต์Serach engineที่เป็นที่นิยม : Google เริ่มก่อตั้งเมื่อมกราคม      พ.ศ.2539 เริ่มต้นการใช้งานเว็บไซต์โดยให้พิมพ์URL http:/www.google.com ที่ช่องaddress ,Yahoo! http:/www.Yahoo.com  จุดหนึ่งที่ทำให้โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือการแบ่งเว็บไซต์ที่เก็บในฐานข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่และยังมีการโยงใยระหว่างกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ , Bing เป็น Search Engine ตัวใหม่ล่าสุดของค่าย Microsoft ที่มี Search Engine ต่างๆ ได้แก่MSN Search  Live Search  Bing  เริ่มให้บริการ Version ทดลองอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ซึ่งจากสถิติการสำรวจการใช้ของชาวอเมริกันพบว่า ช่วงเปิดตัว Bing มีส่วนแบ่งแซงหน้า Yahooที่มีส่วนแบ่งเป็นอันดับสองรองจาก Google

ประโยชน์Serach engine

1.ค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ทำการค้นหาได้สะดวก รวดเร็ว

2.สามารถค้นหาแบบเฉพาะเจาะจงได้

3.สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทางที่มีการจัดทำไว้ให้ได้

4.มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล

5.รองรับการใช้งานได้หลากหลายภาษา

2.การสื่อสารรับส่งข้อมูลผ่าน E-mail

  ชนิดของการรับส่งE-mail : รับส่งโดยใช้ e-mail โดยเฉพาะเช่น  Outlook Express,รับส่งโดยผ่านเว็บไซต์ เช่น Yahoo.com  Gmail.com, รับส่งโดยผ่านเว็บบราว์เซอร์

3.ทำความรู้จักกับภาษา HTML

     เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง มีโครงสร้างการเขียนโดยใช้ Tag ต้นกำเนิดของภาษา HTML เกิดจากเมื่อปีพ.ศ.1989  ภาษา HTML เป็นภาษาที่ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานในการเขียนโฮมเพจ

เครื่องมือสำหรับแก้ไขโค้ด (HTML)


1.Eclipse: สามารถเพิ่มความสามารถให้กับโปรแกรม

2.Aptana Studio: มีรูปแบบสวยงาม ไม่ซับซ้อนรองรับภาษา

3.Editplus: สามารถรองรับไฟล์ได้หลายประเภท

4.Dreamweaver: ใช้สำหรับพัฒนาเว็บไซต์


บทที่6 การเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน อินเทอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2512โดยองค์การทหาร ประเทศไทยเราเริ่มมีการใช้งานครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2532

คำศัพท์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
1.Website จำนวนไฟล์หรือจำนวนหน้าทั้งหมดของเว็บไซต์

2.WebPages หน้าในแต่ละหน้ากลายเป็นเว็บไซต์

3.Homepage หน้าแรกของเว็บเพจ

4.Web Browser ใช้สำหรับเป็นประตูสู่โลก www

5.Webmaster บุคคลที่ทำหน้าที่วางแผนดูแลบริหารจัดการเว็บไซต์

6.ISP ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

7.www.อยู่ในรูปเอกสารแบบ Hypertext ซึ่งภายในเอกสารจะมีจุดเชื่อมโยง Link

8.HTTP เป็นโปรโตคอลสำหรับเปิดดูข้อมูล

9.HTML ภาษามาตรฐานที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ

10.TCP/IP เป็นระบบโปรโตคอลการสื่อสารพื้นฐานของระบบอินเทอร์เน็ต

11.WAP เป็นมาตรฐานเปิดของระบบการสื่อสารด้านข้อมูลไร้สาย

12.WiFi เครือข่ายท้องถิ่นไร้สาย

13.GPRS เป็นบริการด้านสื่อสารไร้สายแบบแพคเก็ตและการเชื่อมต่อเนื่องกับอินเทอร์เน็ต

14.EDGE เป็นเทคโนโลยีมือถือที่พัฒนาขึ้นจาก GPRS ใช้รับส่งข้อมูล

15.เทคโนโลยี3G เป็นเทคโนโลยีของโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 
1.การเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคลเชื่อมต่อผ่านสายคู่โทรศัพท์

2.การเชื่อมต่อแบบองค์กรเป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรตลอดเวลากับผู้ให้บริการด้วยสายเช่า
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

1 สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล

2.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่

3.นักศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้

4.ค้นหาข้อมูลต่างๆเพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ

5.สามารถซื้อขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

6.ผู้ใช้ที่เป็นบริษัทหรือองค์กรต่างๆก็สามารถเปิดให้บริการและสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

7.การพักผ่อนหย่อนใจ

8.สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

9.สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่และเก่ามาดูได้

โทษของอินเทอร์เน็ต
1.โรคติดอินเทอร์เน็ต เช่น หมกมุ่น รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง

2.เรื่องอนาจารผิดศีลธรรมเพราะอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งเผยแพร่ต่างๆ


แนวทางการแก้ปัญหาและป้องกันการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม
1.ไม่บอกข้อมูลส่วนตัวเช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต

2.หากพบข้อความหรือรูปภาพใดๆบนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสมควรแจ้งใหผู้ปกครองทราบทันที่


3.ไม่ควรไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน

4.ไม่ส่งรูปหรือสิ่งใดๆ ให้บุคคลที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน

5.ไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคายและต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที่
ควรเคารพต่อข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้กับผู้ปกครอง เช่น กำหนดระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต

บทที่5 การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

บทบาท
     การติดต่อสื่อสารเป็นการพูดคุยหรือส่งข่าวกันของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นการแสดงออกด้วยท่าทาง การใช้ภาษาพูดหรือผ่านทางตัวอักษร โดยส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารในระยะใกล้ ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นมีการพัฒนาอุปการณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในการสื่อสาร ทำให้สามารถสื่อสารได้ในระยะไกลและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น โทรเลข โทรศัพท์ และโทรสาร

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  1.การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว

  2.ความถูกต้องของข้อมูล

  3.ความเร็วในการทำงาน

  4.ต้นทุนประหยัด

องค์ประกอบหลักของระบบสื่อสารข้อมูล
  1.ผู้ส่ง (Sender) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์

  2.ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร เช่น ผู้ฟัง

  3.สื่อกลาง (Medium) เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง

  4.ข้อมูลข่าวสาร (Message) เช่น ข้อความ รูปภาพ เสียง ตัวเลข วีดีโอ

  5.โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฏระเบียบที่ใช้ในการสื่อสาร

วิธีการถ่ายโอนข้อมูล มี2แบบ :
  1.การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน คือ การส่งข้อมูลครั้งละหลายๆบิตพร้อมกัน  
  2.การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม เป็นการส่งข้อมูลครั้งละ 1 บิต มี2ประเภท (การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัสและการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส)

การติดต่อแบบอนุกรมตามรูปแบบการรับส่งได้3แบบ: สื่อสารทางเดียว(Simplex) แบบกึ่งสองทิศทาง(half duplex)  แบบสองทิศทาง(Full Duplex)

ประเภทของสัญญาณ
  1.สัญญาณแบบดิจิทัล แบ่งเป็นช่วงๆอย่างไม่ต่อเนื่อง
  2.สัญญาณอนาล็อก มีความต่อเนื่องของสัญญาณ
สื่อกลางในการสื่อสาร ข้อมูล ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยงเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อ ประเภทมีสาย (1.สายคู่บิดเกลียว หัวเชื่อมต่อ 2.สายโคแอคเชียล นิยมใช้เป็นช่องทางสื่อสารสัญณาณแอนาล็อกเชื่อมโยงผ่านใต้ทะเล 3.เส้นใยนำแสง มีความปลอดภัยในการส่งสูง) ประเภทไร้สาย (1.แบบ Directionalเป็นแบบกำหนดทิศทางของสัญญาณ 2.แบบ Omnidirectionalเป็นแบบกระจายสํญญาณ)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาต่อเชื่อมโยงให้มีการสื่อสารข้อมูลระหว่างกันเพื่อให้เพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้นเพิ่มการใช้งานด้านต่างๆ  มี3ประเภท
1.LAN เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น  2.MAN เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ครอลคลุมพื้นที่ทั้งตำบล อำเภอ  3.WAN เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ครอบคลุมได้ทั้งประเทศ
โพรโทรคอล คือข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย
รูปร่างเครือข่าย  การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่อง  การเชื่อมต่อแบบหลายจุด โดยมีจุดเชื่อมแยกออก 1.โทโปโลยีแบบ BUS   2.โทโปโลยีแบบ RING

   3.โทโปโลยีแบบ STAR
อุปกรณ์เครือข่าย (การ์ดเครือข่าย, ฮับ คืออุปกรณ์รวมสัญญาณ, สวิตซ์ คืออุปกรณ์รวมสัญญาณ , เกตเวย์ ,บริดจ์ คืออุปกรณ์ที่เหมาะกับเครือข่ายหลายๆกลุ่มที่เชื่อมต่อกัน, รีพีตเตอร์ คืออุปกรณ์ทวนสัญญาณ,โมเด็ม คืออุปกรณ์แปลงสัญญาณ, เราเตอร์, Access point อุปกรณ์จุดเข้าใช้งานเครือข่ายไร้สาย, ADSL Modem router , Air Card)

บทที่4 ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาทำหน้าที่เฉพาะอย่าง

1.โปรแกรมระบบสำนักงานอัติโนมัติ โปรแกรมประเภทนี้มีให้ใช้ทั้งที่มีลิขสิทธิ์คือ ไมโครซอฟต์ออฟฟิต และโปรแกรมที่สามารถใช้ได้ฟรี เรียกว่า โอเพ่นออฟฟิต

    1.1 โปรแกรมประมวลผลคำ เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการด้านเอกสารเป็นหลัก เช่น ไมโครซอฟต์ออฟฟิต และเท็กดอคคิวเมนท์

    1.2 โปรแกรมตารางคำนวณ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่หลักในการคำนวณงานด้านตัวเลข การทำบัญชี  เช่น เอ็กเซล Excel (ลิขสิทธื์) และแคล Cal (โอเพ่นซอร์ส)

    1.3 โปรแกรมนำเสนอ สร้างสื่อสำหรับการนำเสนอผลงาน เช่น พาวน์เวอร์พ้อยต์

2.ซอฟต์แวร์ตกแต่งรูปภาพ เช่น โปรแกรม Adobe photoshop

3.โปรแกรมสำหรับออกแบบ สำหรับการออกแบบงานด้านต่างๆ เช่น autoCAD  Microsoft Visio

4.โปรแกรมสำหรับความบันเทิง เช่น Windows media player ใช้ฟังเพลงเป็นหลัก, PowerDVD ดูภาพยนต์เป็นหลัก , Media player  classic ดูภาพยนตร์เป็นหลักรองรับหลายรูปแบบไฟล์ , VLC ดูภาพยนตร์เป็นหลัก, WinAmp ฟังเพลงเป็นหลัก

5.โปรแกรมสำหรับทำงานด้านคณิตศาสตร์ ได้แก่การคำนวณด้านวิทยาศาสตร์ เช่น MatLab

6.โปรแกรมเครื่องมือ กลุ่มโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้ทำการตรวจสอบและแก้ไขอาการผิดปกติเบื้องต้น

    6.1โปรแกรมตรวจจับไวรัส เช่น นอร์ตันแอนตีไวรัส  อไวรา  เอวีจี  น็อด เป็นต้น
ชนิดของไวรัส (ไวรัสเช่นติดจากไฟล์ที่เราคัดลอกมา  ม้าโทรจันทำงานก็ต่อเมื่อถึงเวลากำหนด  เวิร์มกระจายตัวผ่านอินเทอร์เน็ตได้เอง  สปายแวร์มักถูกติดตั้งโดยไม่รู้ตัว

   6.2โปรแกรมตรวจสอบคุณลักษณะของเครื่อง

   6.3โปรแกรมบีบอัดข้อมูล

7.ดีไวซ์ไดรเวอร์

8.พอร์ต

   8.1พอร์ตสำหรับแสดงผล VGA  DVI  HDML

   8.2พอร์ตสำหรับเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์  USB  Parallel

   8.3พอร์ตสำหรับเชื่อมต่ออุปกรร์ทั่วไป USB

   8.4พอร์ตสำหรับเชื่อมต่อแป้นพิมพ์หรือเมาส์ PS2  USB

   8.5พอร์ตสำหรับเชื่อมต่อเครือข่าย RJ45  Wifi

9.โปรแกรมเว็บบราวเซอร์  เช่น อินเทอร์เน็ตเอ็กพลอเรอร์ IE  ไฟร์ฟอกซ์ Firefox   โครมChrome

บทที่3 ซอฟต์แวร์ระบบ System Software

ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานให้กับผู้ใช้ซอฟแวร์ระบบ หรือ ระบบปฏิบัติการ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์เราระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์

 1.ไมโครซอฟต์วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528(ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก

 2.ลีนุกซ์   เป็นซอฟต์แวร์ระบบภายใต้การพัฒนาของโอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ ถูกพัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ.1990   ลีนุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี

 3.ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีใช้กันอย่างยาวนาน มีลักษณะการทำงานคล้ายลีนุกซ์

 4.แมคโอเอส หรือ โอเอสเอ็กซ์ เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิ้ลหรือที่เรียกติดปากว่าเครื่องแม็คอินทอช มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำงานด้านการประมวลผลสื่อประสมเป็นหลัก   มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา
   1.แอนดรอยด์ ถูกพัฒนาโดยบริษัทกูเกิ้ล ภายใต้โอเพ่นซอร์สจึงสามารถหามาใช้งานได้ฟรี

   2.ไอโอเอส (ios) เป็นระบบปฏิบัติการขนาดเล็กของบริษัทแอปเปิ้ลที่ถูกออกแบบให้สามารถติดตั้งได้ในอุปกรณ์พกพาของบริษัท เช่น iPhone  iPod  iPad

  3.ซิมเบียน Symbian เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับใช้งานกับโทรศัพท์โนเกียโดยเฉพาะ

บทที่2 ระบบคอมพิวเตอร์

 คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณ  อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ

ประเภทของคอมพิวเตอร์
   1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพทางด้านการคำนวณและการประมวลผลสูงมากที่สุด ราคาแพง ขนาดใหญ่

   2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพรองลงมาจากแบบที่1 เป็นตู้สูงใหญ่ ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร

   3.มินิคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพรองลงมาจากแบบที่2 ใช้ในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและเล็ก ใช้กับงานที่มีข้อมูลไม่มาก

   4.ไมโครคอมพิวเตอร์ มีน้ำหนักเบา ราคาไม่แพงเคลื่อนย้ายง่าย ขนาดเล็ก เช่น notebook,Tablet PC

ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ : ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์  ทำงานด้วยความเร็วสูง  ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้  การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ :
ฮาร์ดแวร์ คือ ตัวเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์สามารถจับต้องได้
ซอร์ฟแวร์ คือ โปรแกรมหรือชุดข้อมูลคำสั่งต่างๆ
บุคลากร คือ ผู้ใช้งานหรือผู้ที่ทำงานอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ : อุปกรณ์อินพุต ตอบสนองการสั่งงานของผู้ใช้ (แป้นพิมพ์หรือคีร์บอร์ด เมาส์ อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเช่น ลูกกลมควบคุม แท่งชี้ตำแหน่ง แผ่นรองสัมผัส เป็นต้น ก้านควบคุม ปากกาแสง เครื่องอ่านพิกัด อุปกรณ์รับเข้าแบบจอสัมผัส อุปกรร์รับเข้าแบบกวาดตรวจเครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องกราดตรวจ กล้องถ่ายภาพดิจิทัล) หน่วยประมวลผล (เมนบอร์ด ซ็อคเก็ตซีพียู ชิปเซ็ต ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ ระบบบัสและช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ไบออส ถ่านหรือแบตเตอรี่ ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ จัมเปอร์ ขั้วต่อ IDE หน่วยประมวลผลกลางมีหน่วยควบคุมและหน่วยคำนาณตรรกะ หน่วยความจำแคช การ์ดแสดงผล ฯลฯ) อุปกรร์เอาต์พุต อุปกรณแสดงผล (จอภาพมี3แบบคือ จอภาพแบบ CRT และแบบ LCD และแบบ LDE เป็นต้น  เครื่องพิมพ์มี3แบบคือ เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์มีลักษณะเป็นหัวเข็ม เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นต้น และพล็อตเตอร์)

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เทคโนโลยี หมายถึง วิธีการหรือผลิตภัณฑ์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ เพื่อนำมาใช้ในงานให้เกิดประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลที่ดีขึ้น


สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่มีผ่านการประมวลผลมาเป็นที่เรียบร้อย พร้อมที่จะถูกใช้งานสำหรับผู้บริหารที่สูงขึ้น

เทคโนโลยีการสื่อสาร หมายถึง กระบวนการส่งข้อมูล ข่าวสารต่างๆจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งโดยผ่านเครือข่ายการสื่อสารที่มีอยู่

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     1.ด้านเศรษฐกิจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการภาคการเงินการคลังทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ในระดับองค์การได้มีการตั้งหน่วยงานด้านไอทีเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการประมวลผลข้อมูลรวมทั้งการสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูลไปยังส่วนต่างๆที่อยู่ต่างภูมิภาค

    2.ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น และเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา   โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ  การติดตามและประเมินผล

    3.ด้านการความบันเทิง ปัจจุบันสามารถที่จะดูทีวีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราสามารถที่จะเลือกใช้บริการความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมงเช่น game onlineเกมกลยุทธ์หลายๆเกมที่โปรแกรมจะจำลองสถานการณ์ขึ้นมาเป็นต้น

    4.ด้านธุรกิจ มีการซื้อขายสินค้าออนไลน์ การชำระค่าใช้จ่าย การโอนเงิน หรือแม้กระทั่งการโฆษณาประชาสัมพันธ์

    5.ด้านสังคม ปัจจุบันเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารทางโลกไซเบอร์ของผู้คนในสังคม และมีบริการเว็บต่างๆมากมาย เช่น เฟซบุค ทวิตเตอร์ เป็นต้น

    6.ด้านการขนส่ง ปัจจุบันมีการจัดทำแผนที่ เช่น google ได้สร้างแผนที่ทั่วไปและแผนที่ภาพถ่ายทางดาวเทียม

    7.ด้านการทหาร มีการนำอุปกรณ์ระบุตำแหน่งผ่านดาวเทียม (GPS) แผนที่ทางอากาศและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) มาใช้

    8.ด้านการสื่อสาร มีการนำเสนอบริการใหม่ๆให้สมาชิกในเครือข่ายได้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(e-mail) การขอเข้าระบบจากระยะไกล การถ่ายโอนข้อมูล การสืบค้นข้อมูล(www.)